หมายเหตุ: มีการแก้ไขข้อมูลล่าสุดเมื่อวันที่ 6 ก.พ. 2568 เวลา 19:00 น.
- ในการเลือกตั้งนายก อบจ. เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ทั้ง 47 จังหวัด เพื่อไทยชนะการเลือกตั้งนายก อบจ. จำนวน 14 จังหวัด รองลงมาคือภูมิใจไทย 10 จังหวัด พลังประชารัฐ 6 จังหวัด ประชาธิปัตย์ 3 จังหวัด ประชาชาติ 3 จังหวัด รวมไทยสร้างชาติ 3 จังหวัด กล้าธรรม 2 จังหวัด ประชาชน 1 จังหวัด และอิสระ 1 จังหวัด
- หากนำว่าที่นายก อบจ. ทั้ง 47 คน มาจัดกลุ่ม พบว่าเป็นนายก อบจ. เดิม 29 คน นักการเมืองท้องถิ่น 7 คน นักการเมืองระดับชาติ 5 คน หน้าใหม่ 6 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเครือญาตินักการเมือง 4 คน
- บทสรุปการเลือกตั้ง นายก อบจ. 76 จังหวัด พบว่าเพื่อไทยชนะการเลือกตั้ง จำนวน 25 จังหวัด รองลงมาคือภูมิใจไทย 21 จังหวัด พลังประชารัฐ 9 จังหวัด รวมไทยสร้างชาติ 6 จังหวัด ประชาธิปัตย์ ชนะเลือกตั้ง 3 จังหวัด กล้าธรรม 3 จังหวัด ประชาชาติ 3 จังหวัด ชาติไทยพัฒนา 2 จังหวัด ประชาชน 1 จังหวัด และอิสระ 3 จังหวัด
- นายก อบจ. เดิม สามารถกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งได้ถึง 43 คน ในขณะที่ว่าที่นายก อบจ. หน้าใหม่ ทั้ง 7 คน เป็นเครือญาตินักการเมืองถึง 3 คน
- เมื่อเทียบการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 กับการเลือกตั้งนายก อบจ. 2563 พบว่าจาก 76 จังหวัด มี 39 จังหวัดสามารถรักษาพื้นที่ทางการเมืองเดิมไว้ได้ ขณะที่ 37 จังหวัดมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทางการเมืองเดิม
เมื่อวันที่ 1 กุมภาพันธ์ ที่ผ่านมาเป็นวันเลือกตั้งนายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดที่ครบวาระในการดำรงตำแหน่งทั้ง 47 จังหวัดทั่วประเทศ ในขณะที่อีก 29 จังหวัดที่เหลือได้เลือกตั้งไปแล้วก่อนหน้า เนื่องจากการประกาศลาออกก่อนครบวาระของนายก อบจ. 26 จังหวัด และจากคำวินิจฉัยของศาลและมติ กกต. อีก 3 จังหวัด ทำให้ตอนนี้มีการเลือกตั้งนายก อบจ. ครบแล้วทั้ง 76 จังหวัด Rocket Media Lab ชวนดูผลการเลือกตั้งนายก อบจ. เมื่อวันที่ 1 ก.พ. 2568 ทั้ง 47 จังหวัด สำรวจว่าที่นายก อบจ. ที่ได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่ง ว่าเป็นใครมาจากไหน และบทสรุปการเลือกตั้งนายก อบจ. ทั้ง 76 จังหวัด พร้อมเปรียบเทียบผลกับการเลือกตั้งปี 2563
ผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ทั้ง 47 จังหวัด
หากพิจารณาจากความสัมพันธ์ทางการเมืองระหว่างผู้ได้รับเลือกตั้งนายก อบจ. กับพรรคการเมือง ทั้งจากการที่พรรคประกาศส่งลงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการและจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์ โดยอาศัยการชี้วัดจากความสัมพันธ์ในอดีตจากการนำเสนอข่าวของสื่อมวลชนเท่านั้น ไม่ว่าจะเป็น การสังกัดพรรคการเมือง, การเคยลงสมัคร ส.ส.ในนามพรรคการเมืองนั้น, มีคู่สมรส บุตร ญาติ อยู่ในพรรคการเมืองนั้น, เป็นผู้ให้การสนับสนุนพรรคการเมืองนั้นๆ ในด้านต่างๆ เช่น การหาเสียงเลือกตั้ง เงินทุน ฯลฯ หรือมีความสัมพันธ์กับนักการเมืองในพรรคนั้นๆ อย่างใกล้ชิด จะพบว่า
จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 47 จังหวัดอย่างไม่เป็นทางการ เพื่อไทยชนะการเลือกตั้งนายก อบจ. มากที่สุดถึง 14 จังหวัด รองลงมาคือภูมิใจไทย 10 จังหวัด พลังประชารัฐ 6 จังหวัด ประชาธิปัตย์ 3 จังหวัดประชาชาติ 3 จังหวัด รวมไทยสร้างชาติ 3 จังหวัด กล้าธรรม 2 จังหวัด ประชาชน 1 จังหวัด และอิสระ 3 จังหวัด
หากพิจารณาพรรคที่ได้รับการรับเลือกเป็นนายก อบจ. รายภาคดังนี้
ภาคเหนือ
เพื่อไทย 4 จังหวัด
ประชาชน 1 จังหวัด
ภูมิใจไทย 2 จังหวัด
ภาคกลาง
พลังประชารัฐ 4 จังหวัด
ชาติไทยพัฒนา 2 จังหวัด
เพื่อไทย 2 จังหวัด
ชาติไทยพัฒนา 2 จังหวัด
กล้าธรรม 1 จังหวัด
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
เพื่อไทย 5 จังหวัด
ภูมิใจไทย 4 จังหวัด
กล้าธรรม 1 จังหวัด
พลังประชารัฐ 1 จังหวัด
ภาคตะวันออก
เพื่อไทย 3 จังหวัด
อิสระ 3 จังหวัด
ภาคตะวันตก
ประชาธิปัตย์ 1 จังหวัด
ภาคใต้
ประชาธิปัตย์ 2 จังหวัด
รวมไทยสร้างชาติ 3 จังหวัด
ประชาชาติ 3 จังหวัด
ภูมิใจไทย 2 จังหวัด
พลังประชารัฐ 1 จังหวัด
หลังวันเลือกตั้งในวันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2568 ทางคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) จะทำการตรวจสอบและรับรองผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการภายใน 30 วันหลังจากวันเลือกตั้ง หรือภายในวันที่ 3 มีนาคม 2568 และนายก อบจ.จะสามารถเข้ารับตำแหน่งภายใน 30 วันหลังจากประกาศผลการเลือกตั้งอย่างเป็นทางการ หรือภายในวันที่ 2 เมษายน 2568
ว่าที่นายก อบจ. ทั้ง 47 จังหวัดเป็นใครมาจากไหน
การเลือกตั้งนายก อบจ. ในวันที่ 1 ก.พ. 2568 ทั้งหมด 47 จังหวัด พบว่าผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. เป็นชาย 37 คน หญิง 10 คน หากแยกเป็นรายภาคจะพบว่า
หากนำผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. ทั้ง 47 คน มาจัดกลุ่ม จะพบว่าเป็น
นายก อบจ. เดิม 29 คน
นักการเมืองท้องถิ่น 7 คน
นักการเมืองระดับชาติ 5 คน
หน้าใหม่ 6 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเครือญาตินักการเมือง 4 คน
ในการเลือกตั้งทั้ง 47 จังหวัด มีนายก อบจ. คนเดิม กลับมาลงเลือกตั้ง 42 จังหวัด และได้รับเลือกกลับเข้ามาดำรงตำแหน่งนายก อบจ. อีกครั้ง 29 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ จันทบุรี ชลบุรี เชียงราย เชียงใหม่ ตรัง ตราด นครปฐม นครราชสีมา นนทบุรี นราธิวาส น่าน บึงกาฬ บุรีรัมย์ ประจวบคีรีขันธ์ ปัตตานี พัทลุง แพร่ ภูเก็ต แม่ฮ่องสอน ยะลา ระยอง ลพบุรี ลำปาง ศรีสะเกษ สตูล สมุทรสาคร สระบุรี และสิงห์บุรี ในขณะที่นายก อบจ. คนเดิมที่ไม่ได้รับการรับเลือกกลับเข้ามาดำรงตำแหน่ง 13 จังหวัด ได้แก่ นครนายก นครพนม พังงา พิจิตร มหาสารคาม มุกดาหาร ลำพูน สกลนคร สมุทรสงคราม สุพรรณบุรี สุราษฎร์ธานี หนองคาย และหนองบัวลำภู
โดยเมื่อแยกเป็นรายพรรคสามารถแบ่งได้ดังนี้
เพื่อไทย จากผลการเลือกตั้งพบว่า ว่าที่นายก อบจ. 14 คน เป็นนายก อบจ. เดิม 8 คน รองลงมาคือ นักการเมืองท้องถิ่น 3 คน และหน้าใหม่ 3 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเครือญาตินักการเมือง 2 คน
ภูมิใจไทย จากผลการเลือกตั้งพบว่า ว่าที่นายก อบจ. 10 คน เป็นนายก อบจ. เดิม 8 คน รองลงมาคือ นักการเมืองท้องถิ่น 1 คน และหน้าใหม่โดยเป็นเครือญาตินักการเมือง 1 คน
พลังประชารัฐ จากผลการเลือกตั้งพบว่า ว่าที่นายก อบจ. 6 คน เป็นนายก อบจ. เดิม 2 คน นักการเมืองท้องถิ่น 2 คน และนักการเมืองระดับชาติ 2 คน
ประชาธิปัตย์ จากผลการเลือกตั้งพบว่า ว่าที่นายก อบจ. 3 คน เป็นนายก อบจ. เดิม 3 คน
ประชาชาติ จากผลการเลือกตั้งพบว่า ว่าที่นายก อบจ. 3 คน เป็นนายก อบจ. เดิม 3 คน
รวมไทยสร้างชาติ จากผลการเลือกตั้งพบว่า ว่าที่นายก อบจ. 3 คน เป็นนายก อบจ. เดิม 2 คน และนักการเมืองระดับชาติ 1 คน
กล้าธรรม จากผลการเลือกตั้งพบว่า ว่าที่นายก อบจ. 2 คน เป็นนักการเมืองท้องถิ่น 1 คน และนักการเมืองระดับชาติ 1 คน
ชาติไทยพัฒนา จากผลการเลือกตั้งพบว่าว่าที่นายก อบจ. 2 คน เป็นนายก อบจ. เดิม 1 คนและนักการเมืองระดับชาติ 1 คน
ประชาชน จากผลการเลือกตั้งพบว่าว่าที่นายก อบจ. 1 คน เป็นหน้าใหม่โดยเป็นเครือญาตินักการเมือง 1 คน
อิสระ จากผลการเลือกตั้งพบว่า ว่าที่นายก อบจ. 3 คน เป็นนายก อบจ. เดิม 3 คน
โดยเมื่อแยกประเภทของว่าที่นายก อบจ. ทั้ง 47 จังหวัดเป็นรายภาค ได้ดังนี้
ภาคเหนือ เลือกตั้งนายก อบจ.7 จังหวัด
นายก อบจ. คนเดิม 6 คน
หน้าใหม่โดยเป็นเครือญาตินักการเมือง 1 คน
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ เลือกตั้งนายก อบจ. 11 จังหวัด
นายก อบจ. คนเดิม 4 คน
นักการเมืองท้องถิ่น 2 คน
นักการเมืองระดับชาติ 2 คน
หน้าใหม่ 3 คน โดยในจำนวนนี้เป็นเครือญาตินักการเมือง 2 คน
ภาคกลาง เลือกตั้งนายก อบจ. 11 จังหวัด
นายก อบจ. คนเดิม 6 คน
นักการเมืองท้องถิ่น 2 คน
นักการเมืองระดับชาติ 2 คน
หน้าใหม่โดยเป็นเครือญาตินักการเมือง 1 คน
ภาคตะวันตก เลือกตั้งนายก อบจ. 1 จังหวัด
นายก อบจ. คนเดิม 1 คน
ภาคตะวันออก เลือกตั้งนายก อบจ. 6 จังหวัด
นายก อบจ. คนเดิม 4 คน
นักการเมืองท้องถิ่น 2 คน
ภาคใต้ เลือกตั้งนายก อบจ. 11 จังหวัด
นายก อบจ. คนเดิม 8 คน
นักการเมืองท้องถิ่น 1 คน
นักการเมืองระดับชาติ 1 คน
หน้าใหม่ 1 คน
บทสรุปเลือกตั้ง อบจ. 76 จังหวัด
หากสรุปผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ทั้ง 76 จังหวัด พบว่าเพื่อไทยสามารถเอาชนะการเลือกตั้งนายก อบจ. ได้มากที่สุดถึง 25 จังหวัด รองลงมาคือภูมิใจไทย 21 จังหวัด พลังประชารัฐ 9 จังหวัด รวมไทยสร้างชาติ 6 จังหวัด ประชาธิปัตย์ 3 จังหวัด กล้าธรรม 3 จังหวัด ประชาชาติ 3 จังหวัด ชาติไทยพัฒนา 2 จังหวัด ประชาชน 1 จังหวัด และลงอิสระ 3 จังหวัด
หากพิจารณาพรรคที่ได้รับการรับเลือกเป็นนายก อบจ. เป็นรายภาค ดังนี้
ภาคเหนือ 9 จังหวัด
เพื่อไทย 6 จังหวัด ได้แก่ เชียงใหม่ น่าน พะเยา แพร่ ลำปาง และอุตรดิตถ์
ภูมิใจไทย 2 จังหวัด ได้แก่ เชียงราย และแม่ฮ่องสอน
ประชาชน 1 จังหวัด ได้แก่ ลำพูน
ภาคกลาง 21 จังหวัด
ภูมิใจไทย 7 จังหวัด ได้แก่ นครสวรรค์ ปทุมธานี พระนครศรีอยุธยา พิจิตร ลพบุรี อ่างทอง และอุทัยธานี
พลังประชารัฐ 6 จังหวัด ได้แก่ กำแพงเพชร นครนายก เพชรบูรณ์ สมุทรปราการ สระบุรี และสิงห์บุรี
เพื่อไทย 4 จังหวัด ได้แก่ นนทบุรี พิษณุโลก สมุทรสาคร และสุโขทัย
ชาติไทยพัฒนา 2 จังหวัด ได้แก่ นครปฐม และสุพรรณบุรี
รวมไทยสร้างชาติ 1 จังหวัด ได้แก่ ชัยนาท
กล้าธรรม 1 จังหวัด ได้แก่ สมุทรสงคราม
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ 20 จังหวัด
เพื่อไทย 11 จังหวัด ได้แก่ กาฬสินธุ์ ขอนแก่น นครพนม นครราชสีมา มหาสารคาม ยโสธร ร้อยเอ็ด สกลนคร หนองคาย อุดรธานี และอุบลราชธานี
ภูมิใจไทย 7 จังหวัด ได้แก่ ชัยภูมิ บึงกาฬ บุรีรัมย์ เลย ศรีสะเกษ สุรินทร์ และอำนาจเจริญ
กล้าธรรม 1 จังหวัด ได้แก่ หนองบัวลำภู
พลังประชารัฐ 1 จังหวัด ได้แก่ มุกดาหาร
ภาคตะวันออก 7 จังหวัด
เพื่อไทย 3 จังหวัด ได้แก่ ฉะเชิงเทรา ชลบุรี และปราจีนบุรี
อิสระ 3 จังหวัด ได้แก่ จันทบุรี ตราด และระยอง
พลังประชารัฐ 1 จังหวัด ได้แก่ สระแก้ว
ภาคตะวันตก 5 จังหวัด
รวมไทยสร้างชาติ 1 จังหวัด ได้แก่ เพชรบุรี
ภูมิใจไทย 1 จังหวัด ได้แก่ ตาก
เพื่อไทย 1 จังหวัด ได้แก่ กาญจนบุรี
ประชาธิปัตย์ 1 จังหวัด ได้แก่ ประจวบคีรีขันธ์
กล้าธรรม 1 จังหวัด ได้แก่ ราชบุรี
ภาคใต้ 14 จังหวัด
รวมไทยสร้างชาติ 4 จังหวัด ได้แก่ ชุมพร พัทลุง ภูเก็ต และสุราษฎร์ธานี
ภูมิใจไทย 4 จังหวัด ได้แก่ กระบี่ นครศรีธรรมราช ระนอง และสตูล
ประชาธิปัตย์ 2 จังหวัด ได้แก่ ตรัง และสงขลา
ประชาชาติ 3 จังหวัด ได้แก่ ปัตตานี ยะลา
นราธิวาสพลังประชารัฐ 1 จังหวัด ได้แก่ พังงา
หากพิจารณาผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. จากความสัมพันธ์ทางการเมืองกับพรรคการเมือง ทั้งจากการที่พรรคประกาศส่งลงเลือกตั้งอย่างเป็นทางการและจากการเชื่อมโยงความสัมพันธ์จะพบว่า
เพื่อไทยมีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 25 คน โดยเป็นนายก อบจ. เดิมมากที่สุด 13 คน และยังพบว่าใน 25 คนนี้เป็นบ้านใหญ่ 19 คน นอกจากนั้นยังพบว่ามาจากการเปลี่ยนย้ายความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 4 คน จากพลังประชารัฐ และภูมิใจไทย
ภูมิใจไทยมีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 21 คน โดยเป็นนายก อบจ. เดิมมากที่สุด 12 คน และยังพบว่าใน 21 คนนี้เป็นบ้านใหญ่ 16 คน นอกจากนั้นยังพบว่ามาจากการเปลี่ยนย้ายความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 6 คน จากเพื่อไทย พลังประชารัฐ และชาติไทยพัฒนา
พลังประชารัฐมีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 9 คน โดยเป็นนายก อบจ. เดิมมากที่สุด 4 คน และยังพบว่าใน 9 คนนี้เป็นบ้านใหญ่ 6 คน นอกจากนั้นยังพบว่ามาจากการเปลี่ยนย้ายความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 1 คน จากประชาธิปัตย์
รวมไทยสร้างชาติมีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 6 คน โดยเป็นนายก อบจ. เดิมมากที่สุด 4 คน และยังพบว่าใน 6 คนนี้เป็นบ้านใหญ่ 5 คน นอกจากนั้นยังพบว่ามาจากการเปลี่ยนย้ายความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 4 คน จากพลังประชารัฐ ประชาธิปัตย์ และรวมพลังประชาชาติไทย
ประชาธิปัตย์มีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 3 คน โดยเป็นนายก อบจ. เดิมมากที่สุด 2 คน และยังพบว่าใน 3 คนนี้เป็นบ้านใหญ่ 2 คน
กล้าธรรมมีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 3 คน โดยเป็นนายก อบจ. เดิม นักการเมืองท้องถิ่น และนักการเมืองระดับชาติมากที่สุด 1 คน และยังพบว่าใน 3 คนนี้เป็นบ้านใหญ่ 1 คน นอกจากนั้นยังพบว่ามาจากการเปลี่ยนย้ายความสัมพันธ์กับพรรคการเมือง 1 คน จากพลังประชารัฐ
ประชาชาติมีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 3 คน โดยเป็นนายก อบจ. เดิม ทั้งสามคน และยังเป็นบ้านใหญ่ด้วย
ชาติไทยพัฒนามีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 2 คน โดยเป็นนายก อบจ. เดิม และนักการเมืองระดับชาติ 1 คน และยังพบว่าใน 2 คนนี้เป็นบ้านใหญ่ 2 คน
ประชาชนมีผู้ที่ได้รับเลือกเป็นนายก อบจ. 1 คน โดยเป็นหน้าใหม่ที่เป็นเครือญาตินักการเมือง
จากข้อมูลพบว่า คนที่มีตำแหน่งนายก อบจ. เดิม มีโอกาสสูงที่จะได้รับเลือกให้ดำรงตำแหน่งนายก อบจ.ในการเลือกตั้ง โดยมีถึง 43 คน และในจำนวนนี้มีสถานะความสัมพันธ์กับบ้านใหญ่ถึง 38 คน รองลงมาคือกลุ่มนักการเมืองท้องถิ่น 14 คน ตามด้วยนักการเมืองระดับชาติ 12 คน และหน้าใหม่ 7 คน โดยเป็นเครือญาตินักการเมืองถึง 4 คน
เทียบกับปี 2563 ใครได้-ใครเสียพื้นที่ อบจ. ไหนบ้าง
หากนำข้อมูลผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2563 มาเปรียบเทียบกับผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 (นับรวมอีก 29 จังหวัดที่จัดการเลือกตั้งไปก่อนหน้า) เพื่อดูการเปลี่ยนแปลงเชิงพื้นที่ทางการเมือง พบว่าจาก 76 จังหวัด มี 39 จังหวัดสามารถรักษาพื้นที่ทางการเมืองเดิมไว้ได้ ขณะที่ 37 จังหวัดมีการเปลี่ยนแปลงของพื้นที่ทางการเมืองเดิม หากพิจารณาเป็นรายพรรคสามารถแบ่งได้ดังนี้
เพื่อไทย จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 25 จังหวัด เป็นการรักษาพื้นที่เดิม 13 จังหวัด ชิงพื้นที่คืน 12 จังหวัด แบ่งเป็นการชิงพื้นที่จากพลังประชารัฐ 7 จังหวัด และภูมิใจไทย 5 จังหวัด โดยมีการเสียพื้นที่เดิม 6 จังหวัด แบ่งเป็นเสียให้ ภูมิใจไทย 4 จังหวัด พลังประชารัฐ 1 จังหวัด และประชาชน 1 จังหวัด
ภูมิใจไทย จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 21 จังหวัด เป็นการรักษาพื้นที่เดิม 9 จังหวัด ชิงพื้นที่คืน 12 จังหวัด แบ่งเป็นการชิงพื้นที่จากเพื่อไทย 4 จังหวัด ประชาธิปัตย์ 2 จังหวัด พลังประชารัฐ 2 จังหวัด ชาติไทยพัฒนา 3 จังหวัด และอิสระ 1 จังหวัด โดยมีการเสียพื้นที่เดิม 7 จังหวัด แบ่งเป็นเสียให้เพื่อไทย 5 จังหวัด พลังประชารัฐ 1 จังหวัด และกล้าธรรม 1 จังหวัด
พลังประชารัฐ จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 9 จังหวัด เป็นการรักษาพื้นที่เดิม 6 จังหวัด ชิงพื้นที่คืน 3 จังหวัด แบ่งเป็นการชิงพื้นที่จากเพื่อไทย 1 จังหวัด ภูมิใจไทย 1 จังหวัด และอิสระ 1 จังหวัด โดยมีการเสียพื้นที่เดิม 12 จังหวัด แบ่งเป็นเสียให้เพื่อไทย 7 จังหวัด ภูมิใจไทย 2 จังหวัด รวมไทยสร้างชาติ 2 จังหวัด และกล้าธรรม 1 จังหวัด
รวมไทยสร้างชาติ จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 6 จังหวัด เป็นการชิงพื้นที่ 6 จังหวัด แบ่งเป็นการชิงพื้นที่จากพลังประชารัฐ 2 จังหวัด ประชาธิปัตย์ 3 จังหวัด และรวมพลังประชาชาติไทย 1
ประชาธิปัตย์ จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 3 จังหวัด เป็นการรักษาพื้นที่เดิม 4 จังหวัด โดยมีการเสียพื้นที่เดิม 5 จังหวัด แบ่งเป็นเสียให้ภูมิใจไทย 2 จังหวัด รวมไทยสร้างชาติ 3 จังหวัด และอิสระ 1 จังหวัด
กล้าธรรม จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 3 จังหวัด เป็นการชิงพื้นที่ 3 จังหวัด แบ่งเป็นการชิงพื้นที่จากพลังประชารัฐ 1 จังหวัด ประชาธิปัตย์ 1 จังหวัด และภูมิไทย 1 จังหวัด
ประชาชาติ จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 3 จังหวัด เป็นการรักษาพื้นที่เดิม 3 จังหวัด
ชาติไทยพัฒนา จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 2 จังหวัด เป็นการรักษาพื้นที่เดิม 2 จังหวัด โดยมีการเสียพื้นที่เดิม 3 จังหวัด แบ่งเป็นเสียให้ภูมิใจไทย 2 จังหวัด และประชาธิปัตย์ 1 จังหวัด
ประชาชน จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 1 จังหวัด โดยเป็นการชิงพื้นที่จากเพื่อไทย
อิสระ จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. 2568 จำนวน 3 จังหวัด เป็นการรักษาพื้นที่เดิม 2 จังหวัด ชิงพื้นที่คืน 1 จังหวัด จากประชาธิปัตย์ 1 จังหวัด โดยมีการเสียพื้นที่เดิม 2 จังหวัด แบ่งเป็นเสียให้ภูมิใจไทย 1 จังหวัด และพลังประชารัฐ 1 จังหวัด
หน้าเดิมย้ายค่าย หน้าใหม่ค่ายเดิม
จากผลการเลือกตั้งนายก อบจ. ทั้ง 76 จังหวัด พบว่าในกลุ่มนายก อบจ. เดิมที่ได้รับเลือกให้กลับมาดำรงตำแหน่งทั้งหมด 43 คน แต่กลับมีการเปลี่ยนแปลงพื้นที่ทางการเมืองถึง 17 จังหวัด เนื่องจากมีนายก อบจ. เดิมเปลี่ยนหรือหันไปสนับสนุนพรรคการเมืองใหม่ เช่น นครราชสีมา พื้นที่ทางการเมืองเปลี่ยนจากภูมิใจไทยเป็นเพื่อไทย เนื่องจากตระกูลหวังศุภกิจโกศล หันไปสนับสนุนพรรคเพื่อไทยตั้งแต่การเลือกตั้งสภาผู้แทนราษฎร 2566
ในขณะที่มีกลุ่มนายก อบจ. เดิมที่ไม่ได้กลับมาลงเลือกตั้ง 13 คน แต่มี 6 จังหวัดที่สามารถรักษาพื้นที่ทางการเมืองเดิมไว้ได้ เนื่องจากมีการส่งตัวแทนเครือข่ายเดิมลงเลือกตั้งแทน เช่น กรณีสุรพงษ์ ปิยะโชติ นายก อบจ. กาญจนบุรี ประกาศลาออกเพื่อไปดำรงตำแหน่งรัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงคมนาคม ทำให้ทางกลุ่มพลังกาญจน์ที่สนับสนุนสุรพงษ์ ปิยะโชติในการเลือกตั้งครั้งก่อน ได้ส่ง ประวัติ กิจธรรมกูลนิจ ลงเลือกตั้งแทนและได้รับการเลือกตั้งเป็นนายก อบจ. กาญจนบุรี
นอกจากนี้ยังมีกลุ่มนายก อบจ. เดิม ที่ไม่ได้รับเลือกให้กลับมาดำรงตำแหน่งนายก อบจ. ถึง 19 จังหวัด พบว่ามี 4 จังหวัดที่สามารถรักษาพื้นที่ทางการเมืองเดิมไว้ได้ เนื่องจากกลุ่มการเมืองหันการสนับสนุนผู้สมัครคนอื่นแทนนายก อบจ. เดิม เช่น กรณีการเลือกตั้งนายก อบจ. สกลนคร ชูพงศ์ คำจวง อดีตนายก อบจ. ที่เคยลงสมัครในนามเพื่อไทยเมื่อปี 2563 แพ้เลือกตั้งให้กับ นฤมล สัพโส ผู้สมัครนายก อบจ. ที่ทางเพื่อไทยประกาศส่งลง ทำให้แม้นายก อบจ. เดิมจะไม่ได้รับการรับเลือก แต่พื้นที่ทางการเมืองยังคงเป็นของเพื่อไทย
อ้างอิง
แผนจัดการเลือกตั้ง ส.อบจ. / นายก อบจ. (วันเลือกตั้ง 1 กุมภาพันธ์ 2568) โดยคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.)
ข้อมูลเชื่อมโยงความสัมพันธ์ของว่าที่นายก อบจ. กับพรรคการเมือง จากฐานข้อมูลการเลือกตั้ง นายก อบจ. 2563 ของ Rocket Media Lab และข้อมูลที่ปรากฏในสื่อ
ดูข้อมูลที่ https://rocketmedialab.co/database-pao-4/