งบประมาณของ อบจ. สามารถแยกที่มาได้เป็น 3 ทางด้วยกันคือ
- รัฐจัดสรร โดยแบ่งออกเป็น 2 แบบ คือ
1.1. รัฐจัดเก็บให้ จาก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน และค่าภาคหลวงแร่และปิโตรเลียม
1.2. รัฐจัดเก็บแล้วแบ่งให้ จาก
ภาษีมูลค่าเพิ่ม 5% ภาษีและค่าธรรมเนียมรถยนต์และล้อเลื่อน ค่าภาคหลวงแร่และปิโตรเลียม และภาษีธุรกิจเฉพาะ เช่น ธุรกิจธนาคาร ประกันภัย - เงินอุดหนุนจากรัฐ
เงินอุดหนุน หมายถึง เงินที่รัฐบาลจัดสรรให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น เป็นแหล่งรายได้เสริมที่รัฐบาลให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ช่วยเหลือเสริมรายได้ทางการคลังให้แก่องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น และยังมีวัตถุประสงค์เพื่อลดความเหลื่อมล้ำทางการคลังระหว่างชุมชนท้องถิ่น โดยอยู่บนหลักการสร้างความเป็นธรรมทางการคลังระหว่างพื้นที่ เพื่อเป็นหลักประกันว่าประชาชนในพื้นที่ทุรกันดารจะได้รับบริการขั้นพื้นฐานอย่างเพียงพอและสมฐานะ - อบจ. จัดเก็บเอง มาจากการจัดเก็บรายได้จาก
ภาษี เช่น ยาสูบ น้ำมัน อากรรังนกอีแอ่น ค่าธรรมเนียม ค่าปรับ และใบอนุญาต เช่น ค่าธรรมเนียมบำรุงท้องถิ่นจากโรงแรม ค่าธรรมเนียมการกำจัดขยะมูลฝอย รายได้จากทรัพย์สิน เช่น ค่าเช่าบริการ ดอกเบี้ย และรายได้เบ็ดเตล็ด เช่น การขยายเอกสารจัดซื้อจัดจ้าง และรายได้จากทุน เช่น การขายทอดตลาด
Rocket Media Lab ชวนดูงบประมาณ อบจ. พร้อมสัดส่วนของงบฯ แต่ละก้อน
อ่านรายงาน อบจ. ได้งบประมาณมาจากไหน เก็บเงินจากอะไรได้มากที่สุด
ที่มา:
รายได้ อบจ. จากข้อมูลรายได้ อปท. 2566 จากกรมส่งเสริมการปกครองท้องถิ่น
เปรียบเทียบภาษีที่จัดเก็บเอง จากรายรับจริงปี 2566 ที่ปรากฏในข้อบัญญัติงบประมาณ อบจ. 76 จังหวัด ปี 2568