- มีผู้สมัคร สว. ทั่วประเทศ 48,117 คน เป็นเพศชาย 27,779 คน คิดเป็น 57.73% เพศหญิง 20,338 คน คิดเป็น 42.27% ศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีผู้สมัครสูงสุด 2,764 คน ส่วนจังหวัดที่มีผู้สมัครน้อยที่สุดคือ น่าน 98 คน
- กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น เป็นกลุ่มที่มีผู้ลงสมัครมากที่สุด 5,211 คน น้อยที่สุดคือ กลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม 609 คน
- ผู้ที่สมัคร สว. ที่มีอายุน้อยที่สุด คือ 40 ปี มีจำนวน 700 คน อายุมากที่สุดคือ 92 ปี มีจำนวน 2 คน
- ภาคที่มีสัดส่วนผู้สมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดคือภาคใต้ คิดเป็น 0.20% ภาคที่มีสัดส่วนผู้สมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดคือภาคกลาง คิดเป็น 0.13%
- จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดคือ มุกดาหาร 0.77% สตูล 0.55% นครนายก 0.48% อำนาจเจริญและอ่างทอง 0.44% และจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดคือ อุดรธานีและนครราชสีมา 0.03% น่าน นครพนม และตาก 0.04%
จากการสรรหา สว. ชุดใหม่ แทน สว. ชุดเก่าที่หมดวาระลง โดยระบบการสรรหา สว. ชุดใหม่นี้เป็นไปตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2560 เป็นระบบ ‘แบ่งกลุ่มอาชีพ’ และ ‘เลือกกันเอง’ ระหว่างผู้สมัครจากระดับอำเภอและจังหวัด ทำให้เกิดแคมเปญรณรงค์ให้ประชาชนสมัครเพื่อเข้าไปเป็นตัวแทนเลือก สว. เพื่อสกัดกั้นการเอื้อประโยชน์จากกลุ่มเครือข่ายและผู้มีอิทธิพลจากพวกเดียวกันเอง
จากข้อมูลผู้สมัคร สว. ในครั้งนี้
ข้อมูลผู้สมัคร สว. จากเว็บ กกต. ตามที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) วันที่ 25 พ.ค. 2567 มีผู้สมัครทั่วประเทศทั้งสิ้น 48,117 คน เป็นเพศชาย 27,779 คน คิดเป็น 57.73% เพศหญิง 20,338 คน คิดเป็น 42.27% โดยจังหวัดศรีสะเกษ เป็นจังหวัดที่มีผู้สมัครสูงสุด 2,764 คน ส่วนจังหวัดที่มีผู้สมัครน้อยที่สุดคือ น่าน 98 คน ในส่วนของกลุ่มอาชีพที่ลงสมัครนั้นพบว่า (เรียงจากมากไปน้อย)
- ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 5,211 คน
- กลุ่มสตรี 4,589 คน
- การศึกษา 4,447 คน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 3,816 คน
- อาชีพทำสวน 3,628 คน
- อาชีพทำนา 3,422 คน
- อื่นๆ 2,656 คน
- การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 2,478 คน
- พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 2,440 คน
- ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 2,168 คน
- กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 1,869 คน
- ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 1,844 คน
- กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 1,819
- การสาธารณสุข 1,628 คน
- ผู้ประกอบกิจการอื่น 1,200 คน
- ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 1,200 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 1,180 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 1,039 คน
- สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 867 คน
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 609 คน
จากข้อมูลจะเห็นว่า กลุ่มผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น และกลุ่มสตรี เป็นสองกลุ่มที่มีผู้สมัครสูงสุดเป็นอันดับหนึ่งและอันดับสอง ตามลำดับ เนื่องจากสองกลุ่มนี้เป็นกลุ่มที่มีข้อกำหนดในการสมัครไม่ยุ่งยากซับซ้อนเท่ากับกลุ่มอาชีพอื่นๆ ที่ต้องพิสูจน์ประสบการณ์ในการทำงาน ในขณะที่สองกลุ่มนี้มีเพียงข้อกำหนดด้านอายุ เพศ อัตลักษณ์ ฯลฯ เท่านั้น
ในขณะที่สองกลุ่มที่มีผู้สมัครน้อยที่สุด คือกลุ่มสื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม และกลุ่มผู้ประกอบอุตสาหกรรม พบว่า ในกลุ่มสื่อสารมวลชนนั้น นอกจากจะห้ามเป็นเจ้าของหรือผู้ถือหุ้นในกิจการหนังสือพิมพ์หรือสื่อมวลชนใดๆ ยังมีระเบียบ กกต. ที่ห้ามผู้ประกอบอาชีพทางวิทยุกระจายเสียง วิทยุโทรทัศน์ สื่อมวลชน ใช้ความสามารถ หรือวิชาชีพ เพื่อเอื้อประโยชน์ในการแนะนำตัว ซึ่งเป็นข้อที่มีความกังวลว่าอาจสร้างข้อจำกัดทำให้มีผู้สมัครน้อยลง โดยระเบียบข้อดังกล่าวเป็นหนึ่งในระเบียบฯ 4 ข้อที่ เทวฤทธิ์ มณีฉาย บรรณาธิการบริหารสำนักข่าวประชาไท ในฐานะผู้ประสงค์ลงสมัคร สว. (ขณะยื่นฟ้อง) ยื่นฟ้องต่อศาลปกครองขอให้เพิกถอน
การสมัคร สว. 67 คึกคักแค่ไหน จังหวัดไหนมีสัดส่วนสูงสุด
จากข้อมูลของกรมการปกครอง ณ เดือนเมษายน 2567 ประเทศไทยมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นช่วงอายุที่สามารถสมัคร สว. ได้ รวม 33,099,643 คน ขณะที่มีผู้สมัคร สว. ทั่วประเทศ 48,117 คน หรือคิดเป็น 0.145% โดยหากพิจารณารายภาคจะพบว่า
ภาคเหนือ
ภาคเหนือมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 3,229,335 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 5,182 คน คิดเป็น 0.16% เป็นผู้สมัครเพศชาย 3,109 คน คิดเป็น 60% เพศหญิง 2,073 คน คิดเป็น 40% โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคเหนือมีอายุ 40 ปี จำนวน 77 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 88 ปี มีจำนวน 1 คน
โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคเหนือพบว่า (เรียงจากมากไปน้อย)
- ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 609 คน
- กลุ่มสตรี 492 คน
- การศึกษา 460 คน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 441 คน
- อาชีพทำนา 383 คน
- อาชีพทำสวน 373 คน
- การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 287 คน
- กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 258 คน
- ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 238 คน
- อื่นๆ 237 คน
- พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 222 คน
- ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 211 คน
- กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 209 คน
- ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 173 คน
- การสาธารณสุข 171 คน
- ผู้ประกอบกิจการอื่น 127
- ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 102 คน
- สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 78 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 68 คน
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 43 คน
จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคเหนือคือ ลำพูน คิดเป็น 0.29% รองลงมาคือ แม่ฮ่องสอน 0.27% เชียงใหม่ 0.23% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคเหนือคือ จังหวัดน่าน คิดเป็น 0.04% ซึ่งเป็นจังหวัดที่ผู้สมัคร สว. น้อยที่สุดในประเทศ รองลงมาคืออุตรดิตถ์ 0.06% ลำปาง 0.11%
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ
ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 11,065,299 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 15,415 คน คิดเป็น 0.14% เป็นผู้สมัครเพศชาย 8,797 คน คิดเป็น 57.07% เพศหญิง 6,618 คน คิดเป็น 42.93% โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีอายุ 40 ปี จำนวน 142 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 91 ปี มีจำนวน 1 คน
โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคตะวันออกเฉียงเหนือ พบว่า (เรียงจากมากไปน้อย)
- อาชีพทำสวน 1,174 คน
- กลุ่มสตรี 930 คน
- ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 811 คน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 664 คน
- อื่นๆ 597 คน
- การศึกษา 572 คน
- การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 456 คน
- อาชีพทำนา 441 คน
- ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 439 คน
- พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 369 คน
- กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 303 คน
- ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 300 คน
- ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 271 คน
- กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 262 คน
- การสาธารณสุข 232 คน
- ผู้ประกอบกิจการอื่น 208 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 206 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 144 คน
- สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 139 คน
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 96 คน
จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ มุกดาหาร คิดเป็น 0.77% รองลงมาคือ อำนาจเจริญ 0.44% ศรีสะเกษ 0.38 ซึ่งศรีสะเกษเป็นจังหวัดที่มีจำนวนผู้สมัคร สว. สูงที่สุดในประเทศอีกด้วย ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคตะวันออกเฉียงเหนือคือ อุดรธานีและนครราชสีมา คิดเป็น 0.03% รองลงมาคือ นครพนม 0.04% กาฬสินธุ์และอุบลราชธานี 0.05%
ภาคกลาง
ภาคกลางมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 10,570,576 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 13,717 คน คิดเป็น 0.13% เป็นผู้สมัครเพศชาย 8,066 คน คิดเป็น 58.80% เพศหญิง 5,651 คน คิดเป็น 41.20% โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคกลางมีอายุ 40 ปี จำนวน 254 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 92 ปี มีจำนวน 2 คน
โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคกลาง พบว่า (เรียงจากมากไปน้อย)
- ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 1,571 คน
- การศึกษา 1,278 คน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 1,203 คน
- กลุ่มสตรี 1,179 คน
- พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 861 คน
- อาชีพทำนา 809 คน
- การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 793 คน
- อื่นๆ 710 คน
- อาชีพทำสวน 646 คน
- ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 601 คน
- กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 573 คน
- ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 545 คน
- การสาธารณสุข 528 คน
- กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 518 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 451 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 420 คน
- ผู้ประกอบกิจการอื่น 285 คน
- สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 277 คน
- ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 257 คน
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 212 คน
จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคกลางคือ จังหวัดนครนายก คิดเป็น 0.48% รองลงมาคือ อ่างทอง 0.44% พระนครศรีอยุธยา 0.38% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคกลางคือ จังหวัดกำแพงเพชร คิดเป็น 0.05% รองลงมาคือ สุพรรณบุรี 0.06% นครปฐมและนครสวรรค์ 0.08%
ภาคตะวันออก
ภาคตะวันออกมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 2,376,412 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 2,409 คน คิดเป็น 0.10% เป็นผู้สมัครเพศชาย 1,537 คน คิดเป็น 63.80% เพศหญิง 872 คน คิดเป็น 36.20% โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคตะวันออกมีอายุ 40 ปี จำนวน 45 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 85 ปี มีจำนวน 1 คน
โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคตะวันออก พบว่า (เรียงจากมากไปน้อย)
- ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 315 คน
- กลุ่มสตรี 244 คน
- อาชีพทำสวน 225 คน
- พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 202 คน
- การศึกษา 176 คน
- อื่นๆ 168 คน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 167 คน
- อาชีพทำนา 119 คน
- การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 99 คน
- ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 79 คน
- ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 79 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 79 คน
- การสาธารณสุข 77 คน
- กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 71 คน
- กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 70 คน
- ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 68 คน
- ผู้ประกอบกิจการอื่น 57 คน
- สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 44 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 38 คน
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 32 คน
จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคตะวันออกคือ ปราจีนบุรี คิดเป็น 0.25% รองลงมาคือ ตราด 0.15% ฉะเชิงเทรา 0.14% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคตะวันออกคือ จังหวัดชลบุรีและสระแก้ว 0.06% รองลงมาคือ จันทบุรีและระยอง 0.07%
ภาคตะวันตก
ภาคตะวันตกมีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 1,592,421 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 2,780 คน คิดเป็น 0.175% เป็นผู้สมัครเพศชาย 1,432 คน ผู้สมัครเพศหญิง 1,348 คน โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคตะวันตกมีอายุ 40 ปี จำนวน 49 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 85 ปี มีจำนวน 2 คน
โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคตะวันตกพบว่า (เรียงจากมากไปน้อย)
- ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 341 คน
- การศึกษา 280 คน
- ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 269 คน
- กลุ่มสตรี 243 คน
- อาชีพทำสวน 206 คน
- อาชีพทำนา 149 คน
- พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 142 คน
- การสาธารณสุข 130 คน
- การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 112 คน
- กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 109 คน
- อื่นๆ 109 คน
- ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 104 คน
- กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 94 คน
- ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 93 คน
- ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 88 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 85 คน
- สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 72 คน
- ผู้ประกอบกิจการอื่น 63 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 56 คน
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 35 คน
จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคตะวันตกคือ เพชรบุรี คิดเป็น 0.44% รอลงมา คือราชบุรี 0.24% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคตะวันตกคือ จังหวัดตาก คิดเป็น 0.04% รองลงมาคือ กาญจนบุรี 0.07%
ภาคใต้
ภาคใต้มีประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไป 4,265,600 คน มีผู้ลงสมัคร สว. 8,614 คน คิดเป็น 0.20% เป็นผู้สมัครเพศชาย 4,838 คน เพศหญิง 3,776 คน โดยผู้สมัครที่มีอายุน้อยที่สุดของภาคใต้มีอายุ 40 ปี จำนวน 133 คน ผู้สมัครที่มีอายุมากที่สุด อายุ 90 ปี มีจำนวน 1 คน
โดยหากพิจารณาการลงสมัคร สว. ตามกลุ่มอาชีพของภาคใต้ พบว่า (เรียงจากมากไปน้อย)
- อาชีพทำสวน 1,174 คน
- กลุ่มสตรี 930 คน
- ผู้สูงอายุ คนพิการหรือทุพพลภาพ กลุ่มชาติพันธุ์ กลุ่มอัตลักษณ์อื่น 811 คน
- ผู้ประกอบวิชาชีพ ผู้ประกอบอาชีพอิสระ 664 คน
- อื่นๆ 597 คน
- การศึกษา 572 คน
- การบริหารราชการแผ่นดินและความมั่นคง 456 คน
- อาชีพทำนา 441 คน
- ประชาสังคม กลุ่มองค์กรสาธารณประโยชน์ 439 คน
- พนักงานหรือลูกจ้างของบุคคลซึ่งมิใช่ส่วนราชการหรือหน่วยงานของรัฐ 369 คน
- กลุ่มศิลปะ วัฒนธรรม ดนตรี การแสดงและบันเทิง นักกีฬา 303 คน
- ผู้ประกอบธุรกิจหรืออาชีพด้านการท่องเที่ยว 300 คน
- ผู้ประกอบกิจการขนาดกลางและขนาดย่อม 271 คน
- กฎหมายและกระบวนการยุติธรรม 262 คน
- การสาธารณสุข 232 คน
- ผู้ประกอบกิจการอื่น 208 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านสิ่งแวดล้อม ผังเมือง อสังหาริมทรัพย์และสาธารณูปโภค 206 คน
- ผู้ประกอบอาชีพด้านวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี การสื่อสาร การพัฒนานวัตกรรม 144 คน
- สื่อสารมวลชน ผู้สร้างสรรค์วรรณกรรม 139 คน
- ผู้ประกอบอุตสาหกรรม 96 คน
จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดในภาคใต้คือ สตูล คิดเป็น 0.55% รองลงมาคือ พัทลุง 0.35% ระนอง 0.33% ส่วนจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดในภาคใต้คือ จังหวัดสุราษฎร์ธานี คิดเป็น 0.08% รองลงมาคือ ยะลา 0.09% ตามด้วย พังงา 0.11%
ภาพรวมทั้งประเทศ
จากข้อมูลจะพบว่า ผู้ที่สมัคร สว. ที่มีอายุน้อยที่สุด คือ 40 ปี มีจำนวน 700 คน อายุมากที่สุดคือ 92 ปี มีจำนวน 2 คน ภาคที่มีสัดส่วนผู้สมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดคือภาคใต้ คิดเป็น 0.20% ภาคที่มีสัดส่วนผู้สมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดคือภาคกลาง คิดเป็น 0.13%
หากพิจารณาเปรียบเทียบกับประชากรวัย 40 ปีขึ้นไป ซึ่งเป็นคุณสมบัติที่สามารถสมัคร สว. ได้ จะพบว่า จังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปมากที่สุดคือ มุกดาหาร 0.77% สตูล 0.55% นครนายก 0.48% อำนาจเจริญและอ่างทอง 0.44% และจังหวัดที่มีสัดส่วนของผู้ลงสมัคร สว. ต่อประชากรที่มีอายุ 40 ปีขึ้นไปน้อยที่สุดคือ อุดรธานีและนครราชสีมา 0.03% น่าน นครพนม และตาก 0.04%
ดูข้อมูลที่ https://rocketmedialab.co/database-senate-67/
อ้างอิง
ข้อมูลประชากร ณ เดือนเมษายน 2567 จากเว็บกรมการปกครอง
ข้อมูลผู้สมัคร สว. จากเว็บ กกต. ตามที่มีการเผยแพร่ในเว็บไซต์ กกต. วันที่ 25 พ.ค. 2567