Connect with us

Hi, what are you looking for?

politics

เปิดข้อมูลผู้มีสิทธิเลือกตั้ง ’66 รายภาค-รายจังหวัด และจำนวน ส.ส.เขต ‘62-’66

Image by Bryon Lippincott via Flickr (CC BY-NC-ND 2.0)

จากจำนวนประชากรเฉพาะที่มีสัญชาติไทย ที่นำมาใช้ในการคำนวณจำนวน ส.ส. รายเขตทั้ง 400 เขต ตามมติศาลรัฐธรรมนูญ (3 มี.ค.2566) มีทั้งสิ้น 65,106,481 คน อย่างไรก็ตาม เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง พบว่าเป็นผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด 52,322,824 คน

Rocket Media Lab สำรวจสัดส่วนผู้มีสิทธิเลือกตั้งรายภาค และรายจังหวัด จำแนกตามช่วงอายุ รวมถึงย้อนดูว่า ส.ส.เขต ที่ได้รับเลือกตั้งเมื่อปี 2562 มาจากพรรคใดกันบ้าง และเลือกตั้ง 66 รอบนี้ มีที่นั่งกี่ที่สำหรับบรรดาพรรคการเมือง

ภาคเหนือ

เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง โดยจำแนกรายภาคพบว่า ภาคเหนือ มีจำนวนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง 4,926,427 คน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 330,760 คน คิดเป็นร้อยละ 6.71 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 1,613,639 คน คิดเป็นร้อยละ 32.75 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อจำแนกตามเจเนอเรชั่น ซึ่งจำแนกตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา พบว่า

เจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 556,794 คน คิดเป็นร้อยละ 11.30 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Y ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 1,352,921 คน คิดเป็นร้อยละ 27.46 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 1,403,073คน คิดเป็นร้อยละ 28.48 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 1,369,777 คน คิดเป็นร้อยละ 27.80 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 243,862 คน คิดเป็นร้อยละ 4.95 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อเปรียบเทียบในภาคเหนือ จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 10.32 อันดับ 2 เชียงใหม่ ร้อยละ 7.16 อันดับ 3 เชียงราย ร้อยละ 7.15 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ (58 ปีขึ้นไป) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ลำปาง ร้อยละ 35.58 อันดับ 2 ลำพูน ร้อยละ 35.44 อันดับ 3 แพร่ 35.09 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเจเนอเรชั่น Z ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 เชียงราย ร้อยละ 11.95 อันดับ 2 เชียงใหม่ ร้อยละ 11.79 อันดับ 3อุตรดิตถ์ ร้อยละ 11.68 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Y ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 แม่ฮ่องสอน ร้อยละ 33.51 อันดับ 2 เชียงใหม่ ร้อยละ 28.79 อันดับ 3 เชียงราย ร้อยละ 27.97 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งเจเนอเรชั่น X ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 อุตรดิตถ์ ร้อยละ 30.92 อันดับ 2 น่าน ร้อยละ 29.67 อันดับ 3 พะเยา ร้อยละ 29.52 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Boomers ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ลำพูน ร้อยละ 30.24 อันดับ 2 ลำปาง ร้อยละ 29.99 อันดับ 3 แพร่ ร้อยละ 29.69 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Silent ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 อุตรดิตถ์ ร้อยละ 5.75 อันดับ 2 ลำปาง ร้อยละ 5.58 อันดับ 3 แพร่ ร้อยละ 5.4 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

ในการเลือกตั้งปี 2562 ภาคเหนือมี ส.ส. เขตรวม 33 คน พรรคที่ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุดคือ เพื่อไทย 26 คน อันดับ 2 อนาคตใหม่ 4 คน อันดับ 3 พลังประชารัฐ 4 คน

สำหรับการเลือกตั้งในปี 2566 ภาคเหนือมีจำนวน ส.ส. เขตรวม 37 คน

ภาคกลาง

เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง โดยจำแนกรายภาคพบว่า ภาคกลางมีจำนวนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง 16,311,527 คน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 1,169,612 คน คิดเป็นร้อยละ 7.17 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 4,761,730 คน คิดเป็นร้อยละ 29.19 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อจำแนกตามเจเนอเรชั่น ซึ่งจำแนกตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา พบว่า

เจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 1,951,320 คน คิดเป็นร้อยละ 11.96 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Y ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 4,573,401 คน คิดเป็นร้อยละ 28.04 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 5,025,076 คน คิดเป็นร้อยละ 30.81 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 3,903,440 คน คิดเป็นร้อยละ 23.93 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 858,290 คน คิดเป็นร้อยละ 5.26 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อเปรียบเทียบในภาคกลาง จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ลพบุรี ร้อยละ 8.58 อันดับ 2 สระบุรี ร้อยละ 8.25 อันดับ 3 เพชรบูรณ์ ร้อยละ 7.49 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ (58 ปีขึ้นไป) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 สิงห์บุรี ร้อยละ 35.38 อันดับ 2 สมุทรสงคราม ร้อยละ 33.52 อันดับ 3 พิจิตร 31.98 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Z ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ลพบุรี ร้อยละ 13.89 อันดับ 2 สระบุรี ร้อยละ 13.56 อันดับ 3 นครนายก ร้อยละ 13.02 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Y ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 สมุทรปราการ ร้อยละ 30.62 อันดับ 2 สมุทรปราการ ร้อยละ 30.62 อันดับ 3 สมุทรสาครร้อยละ 30.12 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น X ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ปทุมธานี ร้อยละ 33.29 อันดับ 2 สมุทรปราการ ร้อยละ 32.7 อันดับ 3 นนทบุรี ร้อยละ 31.62 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Boomers ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 สิงห์บุรี ร้อยละ 28.39 อันดับ 2 ชัยนาท ร้อยละ 27.52 อันดับ 3 อ่างทอง ร้อยละ 26.64 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Silent ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 สมุทรสงคราม ร้อยละ 7.14 อันดับ 2 สิงห์บุรี ร้อยละ 6.99 อันดับ 3 อ่างทอง ร้อยละ 6.58 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

ในการเลือกตั้งปี 2562 ภาคกลางมี ส.ส. เขตรวม 106 คน พรรคที่ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุดคือ พลังประชารัฐ 47 คน อันดับ 2 เพื่อไทย 26 คน อันดับ 3 อนาคตใหม่ 16 คน อันดับ 4 ภูมิใจไทย 10 คน อันดับ 5 ชาติไทยพัฒนา 5 คน อันดับ 6 ประชาธิปัตย์ 2 คน

สำหรับการเลือกตั้งในปี 2566 ภาคกลางมีจำนวน ส.ส. เขตรวม 122 คน

ภาคตะวันออก

เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง โดยจำแนกรายภาคพบว่า ภาคตะวันออกมีจำนวนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง 3,833,286 คน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 306,060 คน คิดเป็นร้อยละ 7.98 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 947,007 คน คิดเป็นร้อยละ 24.70 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อจำแนกตามเจเนอเรชั่น ซึ่งจำแนกตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา พบว่า

เจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 507,502 คน คิดเป็นร้อยละ 13.24 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Y ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 1,174,962 คน คิดเป็นร้อยละ 30.65 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 1,203,815 คน คิดเป็นร้อยละ 32.25 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 774,738 คน คิดเป็นร้อยละ 20.21 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 172,269 คน คิดเป็นร้อยละ 4.49 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อเปรียบเทียบในภาคตะวันออก จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 สระแก้ว ร้อยละ 8.42 อันดับ 2 ปราจีนบุรี ร้อยละ 8.28 อันดับ 3 ชลบุรี ร้อยละ 8.15 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ (58 ปีขึ้นไป) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 จันทบุรี ร้อยละ 28.77 อันดับ 2 ตราด ร้อยละ 28.76 อันดับ 3 ฉะเชิงเทรา ร้อยละ 27.07 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Z ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 สระแก้ว ร้อยละ 13.96 อันดับ 2 ปราจีนบุรี ร้อยละ 13.68 อันดับ 3 ชลบุรี ร้อยละ 13.48 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Y ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ระยอง ร้อยละ 32.89 อันดับ 2 ชลบุรี ร้อยละ 32 อันดับ 3 สระแก้ว ร้อยละ 29.66 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น X ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ระยอง ร้อยละ 32.31 อันดับ 2 ชลบุรี ร้อยละ 32.06 อันดับ 3 สระแก้ว ร้อยละ 31.54 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Boomers ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 จันทบุรี ร้อยละ 23.27 อันดับ 2 ตราด ร้อยละ 23.13 อันดับ 3 ฉะเชิงเทรา ร้อยละ 21.73 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Silent ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ตราด ร้อยละ 5.63 อันดับ 2 จันทบุรี ร้อยละ 5.5 อันดับ 3 ฉะเชิงเทรา ร้อยละ 5.34 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

ในการเลือกตั้งปี 2562 ภาคตะวันออกมี ส.ส. เขตรวม 26 คน พรรคที่ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุดคือ พลังประชารัฐ 11 คน อันดับ 2 อนาคตใหม่ 9 คน อันดับ 3 ภูมิใจไทยและประชาธิปัตย์ พรรคละ 3 คน

สำหรับการเลือกตั้งในปี 2566 ภาคตะวันออก มีจำนวน ส.ส. เขตรวม 29 คน

ภาคตะวันออกเฉียงเหนือ

เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง โดยจำแนกรายภาคพบว่า ภาคตะวันออกมีจำนวนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง 17,508,085 คน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 1,345,935 คน คิดเป็นร้อยละ 7.69 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 4,570,450 คน คิดเป็นร้อยละ 26.10 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อจำแนกตามเจเนอเรชั่น ซึ่งจำแนกตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา พบว่า

เจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 2,264,494 คน คิดเป็นร้อยละ 12.93 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Y ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 5,027,321 คน คิดเป็นร้อยละ 28.71 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 5,645,820 คน คิดเป็นร้อยละ 32.25 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 3,804,100 คน คิดเป็นร้อยละ 21.73 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 766,350คน คิดเป็นร้อยละ 4.38 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อเปรียบเทียบในภาคตะวันออกเฉียงเหนือ จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 อุบลราชธานี ร้อยละ 8.33 อันดับ 2 อุดรธานี ร้อยละ 7.83 อันดับ 3 อำนาจเจริญ ร้อยละ 7.38 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ (58 ปีขึ้นไป) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ชัยภูมิ ร้อยละ 28.6 อันดับ 2 เลย ร้อยละ 28.33 อันดับ 3 ขอนแก่น 27.68 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Z ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 นครพนม ร้อยละ 13.99 อันดับ 2 อุบลราชธานี ร้อยละ 13.92 อันดับ 3 บึงกาฬ ร้อยละ 13.74 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Y ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 มุกดาหาร ร้อยละ 30.06 อันดับ 2 อุบลราชธานี ร้อยละ 30.03 อันดับ 3 สุรินทร์ ร้อยละ 29.63 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น X ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 บึงกาฬ ร้อยละ 34.21 อันดับ 2 สกลนคร ร้อยละ 33.49 อันดับ 3 กาฬสินธุ์ ร้อยละ 33.42 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Boomers ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ชัยภูมิ ร้อยละ 33.74 อันดับ 2 เลย ร้อย 23.65 อันดับ 3 ขอนแก่น ร้อยละ 23.07 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Silent ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 นครราชสีมา ร้อยละ 5.11 อันดับ 2 สุรินทร์ ร้อยละ 4.92 อันดับ 3 ชัยภูมิ ร้อยละ 4.86 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

ในการเลือกตั้งปี 2562 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมี ส.ส. เขตรวม 116 คน พรรคที่ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุดคือ เพื่อไทย 84 คน อันดับ 2 ภูมิใจไทย 16 คน อันดับ 3 พลังประชารัฐ 11 คน อันดับ 4 ประชาธิปัตย์ 2 คน อันดับ 5 ชาติพัฒนา ชาติไทยพัฒนา อนาคตใหม่ พรรคละ 1คน

สำหรับการเลือกตั้งในปี 2566 ภาคตะวันออกเฉียงเหนือมีจำนวน ส.ส. เขตรวม 133 คน

ภาคตะวันตก

เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง โดยจำแนกรายภาคพบว่า ภาคตะวันตกมีจำนวนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง 2,557,258 คน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 214,845 คน คิดเป็นร้อยละ 8.40 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 704,687 คน คิดเป็นร้อยละ 27.56 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อจำแนกตามเจเนอเรชั่น ซึ่งจำแนกตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา พบว่า

เจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 351,164 คน คิดเป็นร้อยละ 13.73 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Y ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 737,282 คน คิดเป็นร้อยละ 28.83 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 764,125 คน คิดเป็นร้อยละ 29.88 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 575,544 คน คิดเป็นร้อยละ 22.51 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 129,143 คน คิดเป็นร้อยละ 5.05 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อเปรียบเทียบในภาคตะวันตก จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ตาก ร้อยละ 10.67 อันดับ 2 กาญจนบุรี ร้อยละ 8.65 อันดับ 3 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 8.33 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ (58 ปีขึ้นไป) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ราชบุรี ร้อยละ 29.72 อันดับ 2 เพชรบุรี ร้อยละ 29.64 อันดับ 3 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 27.02 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Z ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ตาก ร้อยละ 16.98 อันดับ 2 กาญจนบุรี ร้อยละ 13.96 อันดับ 3 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 13.92 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Y ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ตาก ร้อยละ 30.6 อันดับ 2 กาญจนบุรี ร้อยละ 29.68 อันดับ 3 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 28.62 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น X ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 เพชรบุรี ร้อยละ 30.66 อันดับ 2 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 30.44 อันดับ 3 ราชบุรี ร้อยละ 30.05 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Boomers ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ราชบุรี ร้อยละ 24.05 อันดับ 2 เพชรบุรี ร้อยละ 23.96 อันดับ 3 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 21.98 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Silent ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 เพชรบุรี ร้อยละ 5.68 อันดับ 2 ราชบุรี ร้อยละ 5.67 อันดับ 3 ประจวบคีรีขันธ์ ร้อยละ 5.03 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

ในการเลือกตั้งปี 2562 ภาคตะวันตกมี ส.ส. เขตรวม 19 คน พรรคที่ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุดคือ พลังประชารัฐ 12 คน อันดับ 2 ประชาธิปัตย์ 4 คน อันดับ 3 ภูมิใจไทย 2 คน อันดับ 4 เพื่อไทย 1 คน

สำหรับการเลือกตั้งในปี 2566 ภาคตะวันตก มีจำนวน ส.ส. เขตรวม 19 คน

ภาคใต้

เมื่อดูข้อมูลประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 กรมการปกครอง โดยจำแนกรายภาคพบว่า ภาคใต้มีจำนวนผู้มีอายุ 18 ปีขึ้นไปที่มีสิทธิเลือกตั้ง 7,186,241 คน

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรก (First Voter) ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 18-22 ปี จำนวน 645,591 คน คิดเป็นร้อยละ 8.98 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

ผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58 ปีขึ้นไป จำนวน 1,780,524 คน คิดเป็นร้อยละ 24.78 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อจำแนกตามเจเนอเรชั่น ซึ่งจำแนกตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา พบว่า

เจเนอเรชั่น Z ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 18-25 ปี มี 1,058,179 คน คิดเป็นร้อยละ 14.73 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น Y ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 26-41 ปี มี 2,238,005 คน คิดเป็นร้อยละ 31.14 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เจเนอเรชั่น X ซึ่งหมายถึง ผู้มีอายุ 42-57 ปี มี 2,109,533 คน คิดเป็นร้อยละ 29.36 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Boomers ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 58-76 ปี มี 1,417,340คน คิดเป็นร้อยละ 19.72 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

Silent ซึ่งหมายถึงผู้มีอายุ 77 ปีขึ้นไป มี 363,184 คน คิดเป็นร้อยละ 5.05 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมด

เมื่อเปรียบเทียบในภาคใต้ จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งครั้งแรกที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ปัตตานี ร้อยละ 12.25 อันดับ 2 ยะลา ร้อยละ 11.53 อันดับ 3 นราธิวาส ร้อยละ 11.38 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่เป็นผู้สูงอายุ (58 ปีขึ้นไป) ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 พัทลุง ร้อยละ 28.91 อันดับ 2 ชุมพร ร้อยละ 27.94 อันดับ 3 พังงา ร้อยละ 27.55 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Z ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ปัตตานี ร้อยละ 19.59 อันดับ 2 ยะลา ร้อยละ 18.49 อันดับ 3 นราธิวาส ร้อยละ 18.34 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น Y ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 นราธิวาส ร้อยละ 34.74 อันดับ 2 ปัตตานี ร้อยละ 34.22 อันดับ 3 ยะลา ร้อยละ 34.22 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง เจเนอเรชั่น X ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 ภูเก็ต ร้อยละ 32.4 อันดับ 2 สุราษฎร์ธานี ร้อยละ 31.12 อันดับ 3 ชุมพร ร้อยละ 30.83 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Boomers ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 พัทลุง ร้อยละ 22.29 อันดับ 2 พังงา ร้อยละ 22.11 อันดับ 3 ชุมพร ร้อยละ 22.1 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

จังหวัดที่มีผู้มีสิทธิเลือกตั้ง Silent ที่มีสัดส่วนมากที่สุด อันดับ 1 พัทลุง ร้อยละ 6.61 อันดับ 2 นครศรีธรรมราช ร้อยละ 6.22 อันดับ 3 ชุมพร ร้อยละ 5.85 ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งทั้งหมดในแต่ละจังหวัด

ในการเลือกตั้งปี 2562 ภาคใต้มี ส.ส. เขตรวม 50 คน พรรคที่ได้จำนวน ส.ส.มากที่สุดคือ ประชาธิปัตย์ 22 คน อันดับ 2 พลังประชารัฐ 13 คน อันดับ 3 ภูมิใจไทย 8 คน อันดับ 4 ประชาชาติ 6 คน อันดับ 5 รวมพลังประชาชาติ 1 คน

สำหรับการเลือกตั้งในปี 2566 ภาคใต้ มีจำนวน ส.ส. เขตรวม 60 คน

หมายเหตุ: ข้อมูล ส.ส.เขต 2562 เป็นผลการเลือกตั้ง ณ วันที่ 24 มี.ค. 2562 (ไม่นับการเลือกตั้งซ่อม)

ดูข้อมูลพื้นฐานได้ที่ https://rocketmedialab.co/database-election-66-2 

อ้างอิง

จำนวนประชากรจากจำนวนประชากรไทยที่มีชื่ออยู่ในทะเบียนบ้านแยกรายอายุรายเดือน ธันวาคม 2565 สำนักบริหารทะเบียน กรมการปกครอง

จำแนกเจเนอเรชั่นตามศูนย์วิจัย Pew Research Center สหรัฐอเมริกา

คุณอาจสนใจ